ประเทศพม่า
ประเทศพม่า (อังกฤษ: Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmar( ปี่เด่าง์ซุ
ซัมมะดะ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด
มีพรมแดนทางทิศเหนือติดต่อกับจีน ทางทิศตะวันตกติดต่อกับอินเดียและบังกลาเทศ ทางทิศตะวันออกติดต่อกับลาวและไทยและทางทิศใต้จรดทะเลอันดามัน
ยกเว้นทางฝั่งตะวันตกซึ่งอาจจรดมหาสมุทรอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า
Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น
Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ
แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นต้น ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ
ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma
Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม
คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว
ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า หรือ เมียนมา ส่วนในประเทศไทยจะสะกดว่า เมียนมาร์
ประวัติศาสตร์
ประวัติธงชาติพม่า
ธงชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่ามีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน
ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่
ธงนี้ได้เริ่มชักขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ในเวลา 15.00 น. ที่กรุงเนปยีดอ
และในเวลา 15.33 น. ที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น) อันเป็นเวลา
17 วัน ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของพม่า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกันความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย
สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี
สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพและต่อมา
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีการเสนอแบบธงชาติพม่าใหม่อีกครั้ง โดยเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง-เขียว-แดง กลางมีรูปดาวสีขาวขนาดใหญ่
ซึ่งได้กำหนดรวมอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของสหภาพพม่า เมื่อมีการรับรองร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว
โดยการลงประชามติในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จึงเท่ากับว่าเป็นการยอมรับธงชาติพม่าใหม่ตามประชามตินี้
ซึ่งทั้งรัฐธรรมนูญและธงชาติใหม่ จะเริ่มบังคับใช้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญใหม่ภายในปี
พ.ศ. 2553 โดยธงสามสี สีเหลือง, สีเขียว, สีแดง
นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ใช้ธงสามสี ธงสามสีนี้ใช้ครั้งแรกในสมาคมเราชาวพม่าองค์กรของนักชาตินิยมในพม่าก่อนที่จะเป็นธงชาติพม่าในสมัย
รัฐพม่าในปี พ.ศ. 2486–พ.ศ. 2488 ต่างตรงที่สมัยนั้นใช้ นกยูง เป็นตราตรงกลางธง โดยมีการเอาธงสมัยรัฐพม่ามาดัดแปลงแก้ไขใช้ดาวขาวตรงกลางธงแทน
ธงประจำชาติประเทศพม่า
พื้นที่ประเทศพม่า
พื้นที่ ๖๕๗,๗๔๐
ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๑.๓ เท่าของไทย)
เมืองหลวง นครเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw)
(ตามที่ระบุในบทที่ ๑๓ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๑
แต่รัฐบาลพม่ายังไม่ได้แจ้งเวียนให้ทราบอย่างเป็นทางการ)
ที่ตั้งและอาณาเขต
พม่ามีชายแดนติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีนและประเทศอินเดีย
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศลาวและไทย
ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก ติดกับประเทศอินเดีย บังกลาเทศ มหาสมุทรอินเดียและอ่าวเบงกอล
ลักษณะภูมิประเทศ
ภาคเหนือ – เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
ลักษณะภูมิประเทศ
ภาคเหนือ – เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – เป็นที่ราบสูงชัน
ใต้ – มีเทือกเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
ภาคกลาง – เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี
ลักษณะภูมิอากาศ
มรสุมเมืองร้อน
ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก
ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
ภาคกลางตอนล่าง เป็นดินดอนสามเหลี่ยวปากแม่น้ำขนาดใหญ่
ปลูกข้าวเจ้า ปอ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้งร้อนชื้น
เพลงชาติพม่า
กะบามะเจ (พม่า: ကမ္ဘာမကျေ, Kaba
Ma Kyei) เป็นชื่อเพลงชาติของประเทศพม่า ชื่อเพลงมีความหมายตามตัวอักษรว่า
"ตราบโลกแหลกสลาย" ในภาษาอังกฤษนิยมแปลชื่อเพลงนี้เป็น "Till
the End of the World, Burma" หรือ "We Shall Never Give
Up Our Motherland, Burma" เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงชาติของประเทศนอกทวีปยุโรปไม่กี่เพลง
ที่แต่งขึ้นจากทำนองเพลงพื้นเมืองของชาติตนเอง เนื่องจากในตอนต้นของเพลงนี้เป็นการเรียบเรียงดนตรีแบบดั้งเดิมของพม่า
ก่อนที่จะเข้าสู่ดนตรีช่วงถัดมาซึ่งเรียบเรียงในลักษณะดนตรีออเคสตราของตะวันตกเพลงนี้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดยสะหย่าติ่น
(Saya
Tin - สะหย่าเป็นคำเรียกนำหน้านาม หมายถึง อาจารย์ ติ่นเป็นชื่อตัว) เพื่อใช้เป็นเพลงประจำสมาคมเราชาวพม่าเมื่อ
พ.ศ. 2473โดยใช้ชื่อเพลงว่า “Dohbama” แปลว่า “พม่าของเรา” ต่อมาประกาศใช้เป็นเพลงชาติพม่าอย่างเป็นทางการ
การเมืองการปกครอง
ประมุข พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior
General Than Shwe)
ผู้นำรัฐบาล นายเต็ง เส่ง (U Thein
Sein)
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายญาณ วิน (U Nyan
Win)
ระบอบการปกครองเผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
(State Peace and Development Council – SPDC) โดยมีประธาน
SPDC เป็นประมุขประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
![]() |
พลเอกอาวุโสต่าน ฉ่วยประมุขของพม่า |
เขตการปกครอง แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ
(state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ
7 ภาค (division) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า
วันชาติ ๔ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๘ (๒๔๙๑)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ๒๔ สิงหาคม
ค.ศ. ๑๙๔๘ (๒๔๙๑)
ภาษา
นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก
18 ภาษาโดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง
ภาษาปลัง (ปะลัง) ภาษาปะรวก (สำเนียงมาตรฐานของภาษาว้า) และภาษาว้า
ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาทางการ)
ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และ ภาษาอาข่า
ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ
ภาษาไทขึน ภาษาไทคำตี่ มีผู้พูดหนาแน่นในรัฐฉาน และรัฐกะฉิ่น ส่วนภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยกลาง
และภาษาไทยถิ่นอีสาน มีผู้พูดในเขตตะนาวศรี
ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า
(เมี่ยน)
ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษามาเลย์
ในเขตตะนาวศรี
ศาสนา
พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน
พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์ 2% ศาสนาอิสลาม 4% ศาสนาฮินดู
1.7%
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา
ดนตรี และอาหารสำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ
ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ
ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลอยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า
ลุนตยาอชิก
![]() |
การรำของพม่าโดยการได้รับวัฒนธรรมจากไทย จีนและอินเดีย |
ประชากร
จำนวนประชากรประมาณ 50.51 ล้านคน
ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ
จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่
16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง
3.5% คะฉิ่น 3% ไทย
3%
ชิน 1%
การศึกษาสหภาพพม่า
กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของประเทศ ใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 :2 ดังนี้
• ประถมศึกษา 5 ปี
(อนุบาล 1 ปี และประถม 4 ปี)
• มัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี
• มัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี
และอาชีวศึกษา
1- 3 ปี อุดมศึกษา 4 -6 ปี
กรมการศึกษาพื้นฐานของพม่า เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางนโยบายและบริหารการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา มัธยมศึกษา
รวมทั้งการฝึกหัดครู แต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่าง
ๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษานั้น ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียน โดยนักเรียนจะเสียค่าเล่าเรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของพม่านั้น พม่าพยายามที่จะจัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศแต่ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถจัดหาอาคารสถานที่
วัสดุและอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในบางท้องที่ได้ รัฐบาลพม่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งแห่งในทุกหมู่บ้าน
กรมการเทคโนโลยี เกษตรและอาชีวศึกษา เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรม
พณิชยกรรม วิศวกรรมเครื่องกล การประมง คหกรรมและการฝึกหัดครู ทางด้านช่างเทคนิค
การเรียน-การสอนมีทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา มีทั้งหลักสูตรระยะยาวและระยะสั้น
เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง
กรมอุดมศึกษา ทำหน้าที่วางแผนนโยบายและดำเนินการด้านอุดมศึกษาของประเทศ
จัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัยใน 3 เมืองสำคัญ คือ มหาวิทยาลัย Yangon Mandalay และ Manlamyine นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาในการศึกษา
4-6 ปี ตามลักษณะวิชาอีกด้วย เศรษฐกิจ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjGqLPakqNKo2T6vr__7nTFERxY192JFm76P2078Ghlkye6qa9ImpJICwLcEmyexvzpWCs3QbTTOZms2QZ8CXBXKeqm2bONvkpNjn9N9IjH0v8GB03OQdkmU6BYc3C94MEe6qfWKMu80JTg/s400/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2.jpg)
การขนส่งทางบกทางอากาศและทางน้ำ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjJhzXOCW6WPyH7J2cebP-x_yIZv4686bxICcbxFs-9bg3hfGKTdwsPzKD4i8KS4oLVfGnvGcOEbWP-cmIceGO3NiyI87Xv9adTmhUyMpUgegWbSeddOWLUq0hvf1v1e3ReZbY60gKYxh-k/s320/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25AA.jpg)
![]() |
การขนส่งแบบโลจิสติกส์ในพม่าสถานที่ท่องเที่ยวในพม่า
goo.gl/aYWeYV เจดีย์ชเวดากอง
1.พระธาตุเจดีย์ชเวดากองเป็นมหาเจดีย์ 1 ใน 5 สุดยอดสิ่งศักสิทธ์ที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรองจากพระมหาเจดีย์ชเวดากอง องค์พระเจดีย์บรรจุพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างโดยพระเจ้าอโรธามหาราชเมื่อ 900 ปีเศษมาแล้ว เจดีย์ชเวซิกองมีรูปทรงเป็นระฆังคว่ำแบบศิลปะมอญบรรจุพระธาตุสำคัญ ๓ ส่วน คือ พระเขี้ยวแก้ว ที่กษัตริย์แห่งศรีลังกาได้นำมาถวาย พระธาตุกระดูกไหล่ ที่นำมาจากเมืองศรีเกษตร (ใกล้เมืองแปร) และพระธาตุพระนลาฏ (หน้าผาก) องค์พระเจดีย์สูงราว 53 เมตร หรือ 160 ฟุต มีลวดลายปูนปั้นอยู่ 3 แถว และมีเจดีย์เล็ก ๆรูปทรงวิจิตรงดงามเรียงรายเป็นองค์บริวารอยู่โดยรอบ จุดที่น่าสนใจมีอีกหลายแห่งอาทิเช่น ระฆัง บุเรงนองซึ่ง อยู่ในอาคารเล็กๆตั้งอยู่ทางซ้ายมือของซุ้มประตูสุดท้าย โดยพระเจ้าบุเรงนองให้หล่อมาถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อคราวยกทัพขึ้นมาตีเมืองอังวะ เมื่อพ.ศ.2100 มีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปอันงดงามหลายแห่ง รูปปั้นสิงห์สองตัวหัวเดียว ศาลาต่างๆ วิหารโบราณ และสถาปัตยกรรมศิลปะแบบเก่าแก่ของพม่าที่น่าชมอีกมากมาย
2. พระธาตุอินทร์แขวนตั้งอยู่บนหน้าผาสูงกว่า 1,200 เมตร สร้างตั้งไว้บนก้อนหินสิทอง สูงถึง 5.5 เมตร เส้นรอบวงของก้อนหินราว 17 เมตร มองดูคล้ายก้อนหินที่ตั้งอยู่อย่างหมิ่นเหม่ใกล้จะตก การเดินทางมานมัสการพระธาตุอินทร์แขวนไม่ธรรมดาเลยละครับ ค่อนข้างจะน่าตื่นเต้นเลยทีเดียวโดยนักท่องเที่ยวทุกท่านต้องมาจอดรถที่เชิงเขาและขึ้นรถ 6 ล้อแบบไม่มีหลังคาและมีไม้กั้นขึ้นมาสองข้างไปอีกครึ่งชม.ระยะทางประมาณ 8 กม.เพื่อไปลงที่จุดเดินเท้าซึ่งต้องเดินขึ้นเขาไปอีก 1 ชม. แต่ถ้าเดินไม่ไหวก็มีเสลี่ยงแบบสี่คนหามไว้คอยบริการซึ่งค่าบริการไม่ถูกเลยประมาณ 700-800 บาทแถมมีการขอซื้อน้า ขอทิปไปตลอดทาง เรียกว่าได้ทั้งทำบุญและทำทานไปพร้อมๆกันเลย ลงจากเสลี่ยงหรือบางท่านเดินเท้า อีกไม่ไกลจะมีโรงแรมให้พักเหนื่อยก่อนจะเดินไปอีกเพื่อนมัสการองค์พระธาตุ และที่โรงแรมบนเขาแห่งนี้เป็นจุดชมวิวที่ดีที่สุดในการชมทั้งพระธาตุอินทร์แขวน วัดวาอารามแห่งอื่นๆ เจดีย์สวยๆและได้ชมวิวธรรมชาติอันงดงามของรัฐฉานในแบบพาโนรามาเลยทีเดียว
|
![]() |
goo.gl/JwDYqX สถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนท่องเที่ยวมากที่สุดในพม่า |
3.ทะเลสาบอิเลแห่งหนี่งของพม่า และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากความสวยงามของวิวทิวทัศน์ของทะเลสาบและแนวเขาที่อยู่รายรอบ อีกทั้งความแปลกของการพายเรือด้วยเท้า..ของชาวอินทา (In-Tha) “ลูกทะเลสาบ”แห่งอินเล ซึ่งสร้างความแปลกตาแปลกใจต่อนักท่องเที่ยวต่างถิ่นผู้มาเยือน นอกจากนั้นยังมีการทำสวนลอยน้าของชาวอินทาซึ่งยังสร้างความอัศจรรย์ใจและน่าทึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่ผู้มาพบเห็นยิ่งนัก ชาวอินทาจะนำเอาวัชพืชลำต้นกลวงเช่น ต้นอ้อ ที่ขึ้นในน้ำมาตากแห้งแล้วมัดรวมกันเป็นแพ แล้วงมเอาดินโคลนที่อยู่ใต้น้ำขึ้นมาวางบนแพ ผูกเชือกยึดไว้ด้วยไม้ไผ่ไม่ให้ลอยไปมา และใช้เป็นแพเพาะปลูกพืชผัก อาชีพหลักของชาวอินทาคือการประมงและการทำสวนลอยน้าโดยเฉพาะมะเขือเทศที่นี่มีชื่อเสียงว่าอร่อยมาก นอกจากนั้นก็มีผักอื่นๆ เช่น แตงกวา ถั่ว มะเขือยาว ฯลฯ สินค้าเกษตรเหล่านี้จะถูกส่งออกไปขายยังเมืองต่างๆ ทั่วประเทศพม่า ริมทะลสาบอิเลจะมีตลาดนัดของชาวพื้นเมืองสำหรับขายผลผลิตจากท้องถิ่นและชาวเขาบนดอยจะนำของพื้นเมืองมาขายในราคาที่ไม่แพง จุดที่น่าเที่ยวอีกแห่งของทะเลสาบอินเลก็คือวัดผ่องด่ออู วัดนี้มีพระบัวเข็มอันโด่งดัง ลักษณะเป็นพระ 5 องค์ แกะสลักจากไม้จากต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระทั้งห้าองค์เป็นพระที่ไม่มีใบหน้าปากจมูก แต่เดิมองค์พระมีขนาดเพียง 6 ซม.ด้วยความศักดิ์สิทธ์และมีผู้มากราบไหว้ปิดทองกันอย่างมากมายทำให้ปัจจุบันองค์พระเกือบจะกลายเป็นทรงกลมโดยมีขนาดใหญ่ขึ้นถึง 6 เท่า
4.ภูเขาโปปาหรือเรียกว่า มหาคีรีนัต ตั้งอยู่ห่างจากเมืองพุกามราว 50 กิโลเมตร ในอดีตเคยเป็นภูเขาไฟ แต่ปัจจุบันได้ดับไปแล้ว มีความสูงประมาณ 1,518 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และบนยอดเขายังเป็นที่ตั้งของ “วัดตุงคาลัท” (Taung Kalat Temple) วัดพุทธที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของเมืองพุกาม แม้ยืนอยู่ที่ระยะไกลหลายสิบกิโลเมตรก็ยังสามารถมองเห็นยอดเจดีย์สีทองเหลืองอร่ามของวัดได้อย่างชัดเจน ภูมิทัศน์โดยรอบภูเขาไฟโปปา เต็มไปด้วยบ่อน้ำพุและลำธารเล็กๆ ราว 200 แห่ง ภูเขาโปปา ถูกเล่าขานกันว่าเป็นที่สถิตของเหล่า “นัต” หรือ วิญญาณ ภูตผี จึงมีการตั้งศาล และนำรูปปั้นเหมือนจริงของผู้เสียชีวิตตั้งไว้ให้คนกราบไหว้บูชา นัตที่มีชื่อเสี่ยงของที่นี่ คือ นัตโบโบยี หรือ 1 ในเทพทันใจของพม่า เหมาะสำหรับคนใจร้อนที่อยากได้โชคลาภแบบทันใจ
แหล่งที่มาคลิ๊กที่นี่
goo.gl/JwDYqX สถานที่ท่องเที่ยวพม่า
goo.gl/JeHZZW ประวัติและข้อมูลของประเทศพม่า
goo.gl/6TCvFA ประวัติเพลงชาติพม่า
goo.gl/Bs2oZ4 สัญลักษณ์พม่า
goo.gl/9Xhbbd ธงชาติพม่า
goo.gl/tyeVZY นายพลอาวุโสตาน ฉ่วย
goo.gl/aYWeYV รูปภาพเจดีย์ชเวดากอง
goo.gl/JHtTn8 การขนส่งพม่า
goo.gl/4p7YIa รูปภาพนักเรียนของพม่า
goo.gl/Vdro6d รูปภาพโบกี้ตู้ขนส่ง
goo.gl/beflP6 รูปภาพเกษตรกรรมพม่า
goo.gl/Np8Ft6 รูปภาพประชากรพม่า
goo.gl/sA47gK วัฒนธรรมการรำแบบพม่า
goo.gl/JwDYqX สถานที่ท่องเที่ยวพม่า
goo.gl/JeHZZW ประวัติและข้อมูลของประเทศพม่า
goo.gl/6TCvFA ประวัติเพลงชาติพม่า
goo.gl/Bs2oZ4 สัญลักษณ์พม่า
goo.gl/9Xhbbd ธงชาติพม่า
goo.gl/tyeVZY นายพลอาวุโสตาน ฉ่วย
goo.gl/aYWeYV รูปภาพเจดีย์ชเวดากอง
goo.gl/JHtTn8 การขนส่งพม่า
goo.gl/4p7YIa รูปภาพนักเรียนของพม่า
goo.gl/Vdro6d รูปภาพโบกี้ตู้ขนส่ง
goo.gl/beflP6 รูปภาพเกษตรกรรมพม่า
goo.gl/Np8Ft6 รูปภาพประชากรพม่า
goo.gl/sA47gK วัฒนธรรมการรำแบบพม่า
goo.gl/F3nbY7 รูปแผนที่ประเทศพม่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น